อาหารและการย่อยอาหาร
อาหารและการย่อยอาหาร
แบบฝึกหัดก่อนเรียน : https://docs.google.com/forms/d/1mULa6ZsswLG74o9bm1Mz5eJGIvRqZJBvKt3zJnztTwA/edit?ts=5d668bda
อาหาร (Food)
คือ สิ่งที่นำเข้าสู่ร่างกายแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพราะอาหารเป็นแหล่งพลังงานของทั้งเซลล์และร่างกายของสิ่งมีชีวิต ความต้องการอาหารและการได้มาซึ่งอาหารของโพรทิสต์ พืชและสัตว์จะแตกต่างกันออกไป พืชและ โพรทิสต์บางชนิดสามารถสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารเองได้ แต่สัตว์และโพรทิสต์บางกลุ่มไม่ สามารถสร้างอาหารเองได้ ดังนั้นสัตว์และโพรทิสต์กลุ่มนี้จึงจำเป็นจะต้องได้รับสารอาหารจาก สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากการได้มา

การย่อยอาหารของเห็ด รา ยีสต์ และ แบคทีเรีย
1.1 การย่อยอาหารของเห็ด รา และยีสต์ (Fungus, Fungi)
คือสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ใน อาณาจักรเห็ดราหรือฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นเซลล์ยูแคริโอต (Eukaryote) พบได้ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เส้นใย และ ดอกเห็ด ไม่มีคลอโรฟิลล์ ได้รับสารอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยปล่อยเอนไซม์ออกมา ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และซับซ้อนจนเป็นโมเลกุลเล็กและดูดซึมเข้าเซลล์ (Saprophyte)ได้แก่ สิ่งมีชีวิตประเภทเห็ด รา และยีสต์ การย่อยอาหารของเห็ด รา ยีสต์ เนื่องจากรามีผนังเซลล์ จึงไม่สามารถน าสารโมเลกุล ใหญ่เข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยอาหารจึง เป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular digestion) โดยส่ง น้ำย่อยหรือเอนไซม์ออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กก่อนแล้วจึงดูดซึมเข้าสู่เซลล์ การย่อยสารโมเลกุลใหญ่โดยราและแบคทีเรีย จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ยีสต์ เจริญได้ดีในอาหารพวกน้ำตาลเพราะยีสต์มีเอนไซม์อินเวอร์เทส ในการย่อยสลายน้ำตาลซูโครส ได้น้ำตาลฟรักโทสและน้ำตาลกลูโคส หรือ น้ำตาลอินเวอร์ทที่นำมาเป็นส่วนผสมในขนมเค้ก ลูกกวาดและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เป็นต้น แบคทีเรียมีผนังเซลล์ จึงไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยอาหารจึง เป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular digestion) เช่นเดียวกับยีสต์ คือ มีการย่อยอาหารโดย ส่งน้ำย่อยออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กก่อนแล้วจึงดูดซึมสารโมเลกุลเล็กเข้าสู่ เซลล์ แบคทีเรียบางชนิดสามารถย่อยสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนได้ แต่บางชนิดอาจจะ ย่อยได้เฉพาะสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ปัจจุบันมีการน าจุลินทรีย์มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ยีสต์ (Yeast) Saccharomyces cerevisiae เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ เหล้าและไวน์ เชื้อรา Aspergillus oryzae ใช้ผลิตอาหารและอาหารเสริม เช่น ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว น้ำปลา น้ำส้มสายชู ปลาร้า แบคทีเรีย (Bacteria) ในจีนัสแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus sp.) ใช้ในการผลิตนมเปรี้ยว (Cultured milk) เป็นต้น
1.2 การย่อยอาหารของแบคทีเรีย
แบคทีเรียมีผนังเซลล์ จึงไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ได้ การย่อยอาหารจึง เป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular digestion) เช่นเดียวกับยีสต์ คือ มีการย่อยอาหารโดย ส่งน้ำย่อยออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นสารโมเลกุลเล็กก่อนแล้วจึงดูดซึมสารโมเลกุลเล็กเข้าสู่ เซลล์ แบคทีเรียบางชนิดสามารถย่อยสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อนได้ แต่บางชนิดอาจจะ ย่อยได้เฉพาะสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก ปัจจุบันมีการน าจุลินทรีย์มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ยีสต์ (Yeast) Saccharomyces cerevisiae เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ เหล้าและไวน์ เชื้อรา Aspergillus oryzae ใช้ผลิตอาหารและอาหารเสริม เช่น ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว น้ าปลา น้ าส้มสายชู ปลาร้า แบคทีเรีย (Bacteria) ในจีนัสแลคโตบาซิลัส (Lactobacillus sp.) ใช้ในการผลิตนมเปรี้ยว (Cultured milk) เป็นต้น
การย่อยอาหารของโพรโทซัว
โพรโทซัว จัดเป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ ไม่มมีผนังเซลล์ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ โพรโทซัวไม่มีระบบทางเดินอาหาร และระบบย่อยอาหารโดยเฉพาะ แต่ อาศัยส่วนต่างๆของเซลล์ช่วยในการน าอาหารเข้าสู่เซลล์ แล้วจึงมีการย่อยอาหารภายในเซลล์ (Intracellular digestion)การย่อยอาหารของอะมีบ้า
อะมีบาเป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยเท้าเทียม (Pseudopodium) อาหารของอะมีบา ประกอบ
ด้วยเศษสารอินทรีย์ เซลล์แบคทีเรีย สาหร่ายและ สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ
อะมีบาจะมีวิธีการนำ อาหารเข้าสู่เซลล์ โดยกระบวนการฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) โดยการยื่นส่วน ไซโทพลาซึมที่ เรียกว่า ซูโดโพเดียม (Pseudopodium) ออกไปโอบล้อมอาหารทำให้อาหารเข้าไปอยู่ภายในเซลล์มี ลักษณะเป็นถุง เรียกว่า ฟูดแวคิวโอล (Food Vacuole) แล้วไปรวมกับไลโซโซม (Lysosome) ซึ่งมี เอนไซม์อยู่จึงเกิดการย่อยแบบภายในเซลล์ขึ้น การเคลื่อนไหวของไซโทพลาสซึม ทำให้สารอาหาร ต่าง ๆ ถูกลำเลียงไปทั่ว ๆ เซลล์ ส่วนกากอาหารที่เหลือขนาดเล็กจะถูกขับออกทางเยื่อหุ้มเซลล์โดย การแพร่
2. การย่อยอาหารของพารามีเซียม
พารามีเซียมเป็นโพรโทซัวที่เคลื่อนที่ด้วยซีเลีย
(Cilia) อาหารของพารามีเซียม คล้ายกับ
อะมีบา พารามีเซียมจะรับอาหารจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ทางร่องปาก (Oral groove) โดยซีเลีย ที่อยู่บริเวณ
ร่องปากช่วยโบกพัดอาหารเข้าไปจนถึงปาก (Mouth) ที่อยู่ปลายสุดของช่องนี้ อาหาร จะถูกน าเข้าเซลล์อยู่ในฟูดแวคิวโอล
ขณะที่ฟูดแวคิวโอลเคลื่อนที่ไปจะมีการย่อยอาหารเกิดขึ้น โดยเอนไซม์จากไลโซโซม
ทำให้ฟูดแวคิวโอลมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ สารอาหารที่ได้จากการย่อย ก็จะกระจาย
และแพร่ไปได้ทั่วทุกส่วนของเซลล์ ส่วนที่เหลือจากการย่อยก็จะถูกขับออกจากเซลล์
ในรูปของกากอาหารต่อไป


3. การย่อยอาหารของยูกลีนา
ยูกลีนา (Euglena) ได้อาหารโดยวิธีการสังเคราะห์ด้วยแสง
เนื่องจากมีโครมาโทฟอร์ (Chromatophore)
ซึ่งเป็นรงควัตถุ
จึงสังเคราะห์แสงได้ นอกจากนี้ยังดำรงชีพแบบแซโพรไฟต์ได้ ด้วย
โดยการย่อยสารอาหารที่อยู่รอบ ๆ ตัวแล้วส่งเข้าร่องปาก ยูกลีนาจะรับอาหารจากสิ่งแวดล้อม
ที่มีอินทรีย์สารละลายอยู่ในปริมาณสูงได้ 2 วิธี คือ
1. การดูดเอาอินทรีย์สารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่ภายในเซลล์โดยตรง 2. ใช้ช่องบริเวณรอบ ๆ โคนแฟลกเจลลัมซึ่งที่ปลายบนสุดของช่องนี้จะมีช่องปาก สารอาหารจะผ่านเข้าสู่ช่องนี้ แล้วเข้าสู่ภายในเซลล์

กุ้ง เป็นสัตว์ขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2 ทาง(Two hole
tube) แบ่งเป็น 3 ตอน คือ
1. ทางเดินอาหารตอนหน้า(Stomodaeum) ใช้ปากซึ่งมีรยางค์รอบปาก 3 คู่
ช่วยในการกินเคี้ยวอาหารและมีต่อมน้ำลาย (Salivary gland) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย
มีหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ซึ่งกระเพาะอาหารของกุ้ง ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ
เป็นที่พักและบดอาหาร
2. ทางเดินอาหารตอนกลาง(Mesenteron)
เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกระเพาะอาหารและมีช่องรับน้ำย่อยทางเดินอาหารส่วนนี้จึงทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร
3. ทางเดินอาหารตอนปลาย(Protodaeum) เป็นส่วนที่เรียกว่าลำไส้
เป็นท่อเล็กๆพาดไปทางด้านหลังของลำตัว และไปเปิดออกที่ส่วนท้ายของส่วนท้องเรียกว่า
ทวารหนัก
แมลง เป็นสัตว์ในกลุ่มขาปล้องจัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทโพดา ทางเดินอาหารเป็นแบบช่องเปิด 2
ทาง (Two hole tube) ปากของแมลงมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างออกไป
ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของอาหารที่แมลงแต่ละชนิดกิน
แต่แมลงมีลักษณะพื้นฐานของทางเดินอาหารที่เหมือนกัน คือ ปาก คอหอย หลอดอาหาร
กระเพาะพักอาหารขนาดใหญ่ อยู่บริเวณทรวงอก และกระเพาะบดอาหาร(Gizzard) ช่วยในการกรองและบดอาหาร
มีต่อมสร้างน้ำย่อย (Digestive gland) มีลักษณะคล้ายนิ้วมือ 8 อัน
ยื่นออกมาจากทางเดินอาหารระหว่างกึ๋นและกระเพาะอาหาร
ทางเดินอาหารของแมลงเรียงตามลำดับได้ดังนี้
ปลา ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ใน
ไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ปลามีทั้งปลาปากกลมซึ่งเป็นปลาที่ไม่มีขากรรไกรขอบของปากและลิ้นมีฟันใช้ขูดเนื้อและดูดกินเลือดสัตว์อื่น ปลาฉลามมีปากอยู่ทางด้านล่างและมีฟันจำนวนมาก ฉลามมีลำไส้สั้นและภายในมีลิ้นซึ่งมีลักษณะเหมือนบันไดเวียน
(Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็วและพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวยมีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัสพวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้
ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว
ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้
ปาก → คอหอย → หลอดอาหาร → กระเพาะอาหาร → ลำไส้ → ทวารหนัก
สัตว์บางชนิดปีก ได้แก่ นก เป็ด ไก่ ซึ่งเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา(Chordata) ทางเดินอาหารประกอบด้วยปากซึ่งไม่มีฟัน ต่อมน้ำลายเจริญไม่ดี แต่สร้างเมือกสำหรับคลุกเคล้าอาหารและหล่อลื่นได้ มีคอหอยสั้น หลอดอาหารยาว มีถุงพักอาหาร(Crop)
ซึ่งทำหน้าที่เก็บอาหารสำรองไว้ย่อยภายหลังกระเพาะอาหารแบ่งอออกเป็น 2 ส่วน คือ กระเพาะตอนหน้าหรือกระเพาะย่อย (Proventriculus) ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยและกระเพาะอาหารตอนท้ายหรือกระเพาะบด
(Gizzard) ต่อจากกระเพาะบดเป็นลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ส่วนท้ายเป็นโคลเอกา (Cloaca) ที่มีท่อไตและท่อของระบบสืบพันธุ์มาเปิดเข้าด้วยกัน และทวารหนักซึ่งเป็นส่วนท้ายสุด
ทางเดินอาหารของสัตว์ปีกเรียงตามลำดับต่อไปนี้
สัตว์บางชนิดกินพืช ได้แก่ วัว ควาย
จะมีโครงสร้างของทางเดินอาหารแตกต่างจากคนและสัตว์กินเนื้ออื่นๆ อยู่ 2 ประการ คือ
1. การมีทางเดินอาหารที่ยาวมากๆ ยาวถึง 40 เมตร ทำให้ระยะเวลาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารนานยิ่งขึ้น กระเพาะอาหารของวัวและควายแบ่งออกเป็น 4 ส่วน มีชื่อและลักษณะเฉพาะ ได้แก่
1.1 กระเพาะผ้าขี้ริ้วหรือรูเมน (Rumen) เป็นกระเพาะอาหารที่มีจุลินทรีย์ พวก
แบคทีเรียและ โพรโทซัวจำนวนมากจุลินทรีย์พวกนี้สร้างน้ำย่อยเซลลูเลสย่อยสลายเซลลูโลสจากพืชที่กินเข้าไปและสามารถสำรอกอาหารออกมาเคี้ยวเอื้องเป็นครั้งคราวเพื่อบดเส้นใยให้ละเอียดจึงเรียกสัตว์พวกนี้ว่าสัตว์เคี้ยวเอื้อง
1.2กระเพาะรังผึ้งหรือเรติคิวลัม (Reticulum) ทำหน้าที่ย่อยนม เมื่อโค กระบือยัง
เล็กอยู่ และมีจุลินทรีย์เช่นเดียวกับกระเพาะอาหารส่วนรูเมน
1.3กระเพาะสามสิบกลีบหรือโอมาซัม (Omasum) ทำหน้าที่ผสมและบดอาหาร
นอกจากนี้ยังดูดซึมและซับน้ำจากรูเมนอีกด้วย
1.4 กระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (Abomasum) มีการย่อยอาหารและจุลินทรีย์ไป
พร้อมๆกัน แล้วจึงส่งต่อไปยังลำไส้เล็กเพื่อย่อยให้สมบูรณ์
เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ลำไส้เล็กตอนต้น จะมีการย่อยโปรตีน ไขมันและแป้งจากน้ำย่อยจากตับอ่อนและน้ำดีจากตับ จากนั้นก็ดูดซึมเข้าสู่ระบบหมุนเวียนต่อไป
(Spiral valve) ช่วยในการถ่วงเวลาไม่ให้อาหารเคลื่อนตัวไปเร็วและพวกปลากระดูกแข็งมีปากซึ่งภายในมีฟันรูปกรวยมีลิ้นขนาดเล็กยื่นออกมาจากปากทำหน้าที่รับสัมผัสพวกปลากินเนื้อ เช่น ปลาช่อน ปลาน้ำดอกไม้
ปลาพวกนี้จะมีลำไส้สั้น ส่วนปลากินพืช เช่น ปลาทู ปลาสลิด จะมีลำไส้ยาว
ทางเดินอาหารของปลาเรียงตามลำดับต่อไปนี้
ปาก → คอหอย → หลอดอาหาร → กระเพาะอาหาร → ลำไส้ → ทวารหนัก
ระบบการย่อยอาหารหรือระบบทางเดินอาหารของคน
ระบบ นี้ รวม อวัยวะ ต่างๆ ที่ เกี่ยวว กับ การ รับ อาหาร การ ย่อยและการ ดูด ซึม อาหาร และ การ ขับ ถ่าย กาก อาหาร ที่ ไม่ ย่อย ยาวตั้ง แต่ ปาก ถึง ทวารหนัก ประมาณ ๙ เมตร อวัยวะ ต่างๆ เรียง ตาม ลำ ดับ คือ ปาก คอ หอย หลอด อาหาร กระเพาะ อาหาร ลำ ไส้ เล็ก ลำ ไส้ ใหญ่ และ ทวาร หนัก นอกจาก นั้น ยัง รวม ต่อม ต่างๆ ซึ่ง เปิด เข้า สู่ ปาก ได้ แก่ ต่อม น้ำ ลาย และ เปิด เข้าสู่ ลำไส้ เล็ก ได้ แก่ ตับ และ ตับ อ่อน ต่อม ต่างๆ เหล่า นี้ ช่วย ใน การ ย่อย อาหาร ส่วน ปาก และ คอ หอย ยัง ใช้ สำหรับ การ หาย ใจ อีกด้วย
ระบบ
ปาก
ลักษณะ
ริม ฝี ปาก
ภาษา ชาว บ้าน หมาย ถึงขอบ ปาก สี แดง เท่า นั้นแต่ ทาง กายวิภาคศาสตร์ หมาย ถึงบริเวณ ตั้ง แต่ ผิว หนัง ถึง เยื่อ เมือก ด้าน ในที่ ต่อ กับ เหงือก และปาก สี แดง เป็น ส่วน หนึ่ง ของ ริม ฝี ปาก เท่า นั้น ภาย ใน ริม ฝี ปาก ประกอบ ด้วย กล้ามเนื้อ ลาย ด้าน นอกเป็น ผิว หนัง ด้าน ใน เป็น เยื่อ เมือก และ ขอบ ปาก สี แดง ริม ฝีปาก จึง เคลื่อน ไหว ได้
ภาษา
แก้ม
มี ลักษณะ เช่น เดียว กับ ริม ฝี ปาก ประกอบ ด้วย กล้าม เนื้อ ลาย ด้าน นอกเป็น ผิว หนัง ด้าน ใน เป็น เยื่อ เมือก บุ จน ถึง บริเวณเหงือก
การ เคลื่อน ไหว ของ ริม ฝี ปาก และ แก้ม จำ เป็น สำหรับ การ เคี้ยว เพื่อ บังคับ ให้ อาหาร ใน กระพุ้ง แก้ม ไป อยู่ระหว่าง ฟัน
ฟัน
ใน ผู้ ใหญ่ มี ฟัน ถาวร ๓๒ ซี่ ฟัน บน ข้าง ละ ๘ ซี่ และ ฟัน ล่าง ข้าง ละ ๘ ซี่ แต่ ละ ข้าง มี ฟัน ตัด ข้าง ละ ๒ ซี่ ฟัน เขี้ยว ๑ ซี่ ฟันหน้า กราม ๒ ซี่ และ ฟันกราม ๓ ซี่ เรียง ตาม ลำ ดับ จาก หน้า ไป หลัง
ใน ทารก มี ฟัน น้ำ นม ๒๐ ซี่ ฟัน บน ข้าง ละ ๕ ซี่ ฟัน ล่าง ข้าง ละ ๕ ซี่ แต่ ละ ข้าง มี ฟัน ตัด ๒ ซี่ ฟัน เขี้ยว ๑ ซี่ และ ฟัน กราม ๒ ซี่
ใน ปาก ของ เด็ก แรก เกิด ไม่ มี ฟัน เมื่อ อายุ ๖ เดือน จึง จะ มี ฟัน น้ำ นม ซี่แรก งอก ขึ้น มา ให้ เห็น และ ปลาย ปี ที่ สอง ฟัน น้ำ นมจึง ขึ้น ครบ ทุก ซี่ เมื่อ อายุ ๖ ปี มี ฟัน ถาวร อัน แรก ปรากฎ ขึ้น คือ ฟัน กราม ซี่ ที่ ๑ แล้ว ต่อ ไป ฟัน น้ำ นม ทั้ง ๑๐ ซี่ จะค่อยๆ หลุด ไป และ มี ฟัน ถาวร งอก ขึ้น มา แทน ที่ ที ละซี่ ฟัน ของ ขา กรรไกร ล่าง งอก ก่อน ฟัน ของ ขา กรรไกร บน ฟัน ถาวร ทั้ง หมด จะงอก หมด ใน ปลาย ปี ที่ ๑๒ หรือ ๑๓ ยก เว้น ฟัน กราม ซี่ สุด ท้าย ซึ่ง มัก จะ งอก ขึ้น ระหว่าง อายุ ๑๘-๒๔ ปี บาง ที จึง เรียก ว่า ฟัน ฉลาด
ช่อง ปาก แท้
มี ขอบ เขต ดัง นี้ ด้าน บน เป็น เพดาน ปาก ซึ่ง ประกอบ ด้วย ๒ ส่วน คือ เพดาน แข็ง อยู่ ที่ ส่วน หน้า ๒/๓ โดย มี กระดูก เป็นแกน ภาย ใน เพดาน อ่อนอยู่ที่ ส่วน หลัง ๑/๓ โดย มี พังผืด ขาว และ กล้าม เนื้อ ลาย อยู่ ภาย ใน ตรง ปลาย สุดของ เพดานอ่อน เป็น ติ่ง เรียก ว่า ลิ้น ไก่ (uvula) จาก ลิ้น ไก่ มี รอย นูน ของ เยื่อเมือก มา ยัง ขอบ ข้าง ของ ลิ้น รอย นูน นี้ ถือ ว่า เป็นแนว แบ่ง ระหว่าง ช่อง ปาก แท้ กับ คอ หอย ด้าน ล่าง ของ ช่อง ปาก เป็น ลิ้น และ ใต้ ลิ้น เป็น กล้าม เนื้อ ที่ ประกอบ เป็นพื้น ของปาก
ลิ้น
ประกอบ ด้วย กล้าม เนื้อ ลาย เป็น ส่วน ใหญ่ ซึ่ง มี เยื่อ เมือก คลุม ด้าน บน และ ด้าน ข้าง ของ กล้าม เนื้อ เยื่อ เมือก ที่ คลุม ด้าน บนของ ลิ้น ไม่ เรียบ ยื่น ขึ้น มา เป็น ปุ่ม แหลม ปุ่ม รูป ดอก เห็ด แต่ ละ ปุ่ม มี ร่อง ซึ่ง มี เซลล์ รับ รส อยู่ โดย รอบ ลิ้น มีหน้า ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ เคี้ยว การ กลืน และ การ รับ รส ใน คน ยัง ใช้ พูด ด้วย
ต่อม น้ำ ลาย
มี ต่อม ใหญ่ ๓ ต่อม คือ
๑. ต่อม น้ำ ลาย พา โร ติด (parotid) เป็น ต่อม น้ำ ลาย ที่ ใหญ่ ที่ สุด อยู่ ที่ ด้าน ข้าง ของ ใบ หน้า ระหว่าง หู กับ คาง มี ท่อ ไป เปิด สู่ กระพุ้ง แก้ม
๒. ต่อม น้ำ ลาย ใต้ คาง ขนาด เล็ก กว่า อยู่ ใต้ กระดูก คาง ทั้ง สอง ข้าง มี ท่อ ไป เปิด สู่ ช่อง ปาก แท้ ตรง ระหว่าง ใต้ ปลาย ลิ้น กับพื้น ปาก
๓. ต่อม น้ำ ลาย ใต้ ลิ้น ขนาด เล็ก ที่ สุด อยู่ ใต้ เยื่อ เมือก ของ ปาก ที่สอง ข้าง ลิ้น มี ท่อ เล็กๆ หลาย ท่อ เปิด สู่ ช่อง ปาก แท้
มี
การ
ฟัน
ใน
ใน
ใน
ช่อง
มี
ลิ้น
ประกอบ
ต่อม
มี
๑. ต่อม
๒. ต่อม
๓. ต่อม
คอ อยู่ ผนัง ๑. คอ ๒. คอ ๓. คอ หลอด หลอด
ผนัง กระเพาะ อยู่ | ||
อวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง | ||
กระเพาะ เยื่อ | ||
ทางเดินอาหารภายในช่องท้อง | ||
ลำไส้เล็ก แบ่งได้เป็น ๓ ส่วน คือ ดูโอดีนัม (duodenum) เจจูนัม (jejunum) และอิเลอัม (ileum) ดูโอดีนัม ยาวประมาณ ๒๒.๕ เซนติเมตร เป็นส่วน ต้น และกว้างที่สุดของลำไส้เล็ก กว้าง ๔-๕ เซนติเมตร ยกเว้น ๒.๕ เซนติเมตรแรก ดูโอดีนัมอยู่ชิดกับผนังหลังของ ช่องท้อง และอยู่นอกเยื่อบุช่องท้อง ดูโอดีนัมประกอบเป็น รูปโค้งอยู่หน้ากระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๑, ๒ และ ๓ ส่วนแรกต่อจากกระเพาะอาหารยาว ๒.๕ เซนติเมตร ทอดไปทางหลัง ส่วนที่ ๒ ทอดลงล่าง ทางขอบขวาของกระดูก สันหลังส่วนเอวอันที่ ๑, ๒, ๓ ส่วนที่ ๓ ทอดข้ามกระดูกสันหลัง ส่วนเอวอันที่ ๓ ไปทางซ้าย ต่อไปส่วนที่ ๔ ทอดขึ้นบนไปต่อ กับลำไส้ส่วนเจจูนัม มีท่อน้ำดีจากตับ และท่อของตับอ่อนมา เปิดสู่ดูโอดีนัมส่วนที่ ๒ เจจูนัมและอิเลอัม ส่วนต้น ๒/๓ ยาวประมาณ ๑.๕-๑.๘ เมตร ประกอบด้วยซีคัม (caecum) ไส้ติ่ง (appendix) และโคลอน (colon) ซีคัม เป็นส่วนแรกย้อยลงมาเป็นถุงก้นตันยาว ๖ เซนติเมตร อยู่ที่ส่วนล่างของท้องข้างขวา และอยู่ต่ำกว่าระดับรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของลำไส้ใหญ่ยาวประมาณ ๙ เซนติเมตร กว้าง ๖ มิลลิเมตร ติดกับด้านหลัง และใกล้ส่วนกลางของซีคัม ไส้ติ่งในชายยาวกว่าหญิงเล็กน้อย โคลอน ต่อกับซีคัมที่ระดับรอยต่อระหว่างลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ส่วนทอดขึ้นยาวประมาณ ๑๒-๒๐ เซนติเมตร ทอดขึ้นบนชิดกับผนังหลังข้างขวาของช่องท้องจนถึงด้านล่างของตับ ส่วนทอดขวางยาว ๕-๑๐ เซนติเมตร จะโค้งมาทางด้านหน้าไปทางซ้าย ไปจนถึงด้านล่างของม้าม และส่วนทอดลงยาว ๒๕ เซนติเมตร ทอดลงล่างชิดกับผนังหลังข้างซ้ายของท้อง จนถึงขอบของช่องเชิงกราน จากนี้ก็เรียกว่า ส่วนเชิงกราน ยาว ๔๐ เซนติเมตร ทอดไปสู่แนวกลางไปต่อกับทวารหนักที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนเชิงกรานอันที่ ๓ | ||
ทางเดินของลำไส้ใหญ่และอวัยวะภายในช่องท้องภายหลังการเอา เจจูนัม และอิเลอัมออกแล้ว | ||
ลำไส้ตรงต่อจากโคลอนส่วนเชิงกรานในแนวกลางลำตัว ทอดลงล่างตามความโค้งของกระดูกสันหลังส่วนเชิงกราน และกระดูกก้นกบ ไปหมดที่ ๓.๕ เซนติเมตร ต่ำกว่าปลายกระดูกก้นกบ ช่องทวารหนักเป็นช่องแคบๆ ยาว ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร ต่อจากลำไส้ตรงทอดเฉียงลงล่างไปทางหลังไปหมดที่รูทวารหนัก ช่องทวารหนักมีหูรูดซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และหูรูด ซึ่งประกอบด้วยกล้ามเนื้อลาย ซึ่งทำหน้าที่ปิดกักกากอาหารไว้ เมื่อต้องการขับถ่ายกากอาหารหูรูดเหล่านี้ก็จะหย่อนยอมให้กากอาหารผ่านออกไปได้ ตับ เป็นต่อมสำหรับการย่อยอาหาร เนื่องจากหลั่งน้ำดีไปสู่ดูโอดีนัม เพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน ตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุด และหนักที่สุด อยู่ในส่วนบนของช่องท้องชิดกับกะบังลม และกระดูกซี่โครง ส่วนใหญ่อยู่ทางขวา ส่วนน้อยอยู่ตรงกลาง และยื่นไปทางซ้ายเล็กน้อย ตับของทารกในครรภ์หนักประมาณ ๑ ใน ๘ ของน้ำหนักตัว ในผู้ใหญ่ตับหนักประมาณ ๑ ใน ๓๖ ของน้ำหนักตัว | ||
ด้านหน้าของตับ | ||
ในขณะมีชีวิต ตับมีสีน้ำตาลแกมแดง นุ่มและฉีกขาดง่าย ตับมีรูปร่างคล้ายลิ่มขนาดใหญ่ แต่ด้านบน ด้านหน้า และด้านหลัง กลมมน ส่วนใหญ่ของตับอยู่ทางขวา วัดจากหน้าไปหลังยาว ๑๒.๕ เซนติเมตร และจะลดเหลือครึ่งเดียวในกลางตัว | ||
ด้านหลังของตับ | ||
เลือดจากกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ซึ่งนำอาหารที่ย่อยแล้วมาสู่ตับ โดยทางหลอดเลือดดำปอร์ตัล และมีหลอดเลือดแดงซึ่งนำเลือดที่มีออกซิเจนมาสู่ตับด้วย หลอดเลือดดำเและแดงทั้งสองนี้แตกแขนงภายในตับจนถึงระดับ เลือดฝอย จากหลอดเลือดฝอยเหล่านี้รวบรวมเป็นหลอดเลือดดำ ออกจากตับไปสู่หัวใจได้ เลือดดำนำอาหารที่ย่อยแล้วสู่ตับ ตับมีหน้าที่ทำลายพิษ บางอย่างที่มากับอาหาร เปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไกลโคเจน และเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคสสู่กระแสโลหิตได้ดีด้วย ตับยังมีหน้าที่สร้างและหลั่งน้ำดี ออกไปทางท่อตับ (hepatic duct) ตลอดเวลา แต่ปกติน้ำดีจะเข้าสู่ดูโอดีนัมใน ขณะที่มีการย่อยอาหารเท่านั้น น้ำดีจึงถูกนำไปเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ซึ่งมีหน้าที่ดูดน้ำจากน้ำดีไปบ้างก่อน และมีการหลั่งน้ำเมือก ออกมาผสมกับน้ำดี จึงทำให้น้ำดีข้นขึ้น ถุงน้ำดีอยู่ชิดกับด้านล่างของตับ ยาว ๗.๕ เซนติเมตร และกว้าง ๒.๕-๓ เซนติเมตร จุได้ ๓๐-๔๕ มิลลิลิตร รูปร่างคล้ายผลชมพู่ ปลายกว้าง แล้วเรียวเล็กลงเป็นท่อน้ำดี ท่อจากถุงน้ำดีไปต่อกับท่อตับเป็นท่อน้ำดีทอดลงล่างไปเปิดเข้าดูโอดีนัมส่วนที่สอง ท่อน้ำดีมีหูรูดที่ปลายของมัน และจะเปิด เมื่อมีการย่อยอาหารเท่านั้น ตับอ่อนเป็นต่อมสำหรับการย่อยเช่นเดียวกับตับ มีหน้าที่หลั่งน้ำย่อยไปสู่ดูโอดีนัม โดยทางท่อตับอ่อนและยังมีกลุ่มเซลล์ หลั่งอินซูลิน (insulin) เข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรง จึงเป็นต่อมไร้ท่อด้วย คนขณะมีชีวิต มีตับอ่อนสีเหลือง นุ่ม รูปร่างคล้ายตัวลูกน้ำ ยาวประมาณ ๑๒.๕-๑๕ เซนติเมตร ส่วนหัวอยู่ในโค้งของดูโอดีนัม ส่วนตัวทอดขวางไปทางซ้ายชิดกับผนังหลังของท้อง และส่วนหางไปชิดกับม้าม |
แบบฝึกหัดหลังเรียน :
https://docs.google.com/forms/d/1mULa6ZsswLG74o9bm1Mz5eJGIvRqZJBvKt3zJnztTwA/edit?ts=5d668bda
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา
คุณครูธีระวัฒน์ ปานทอง
https://docs.google.com/forms/d/1mULa6ZsswLG74o9bm1Mz5eJGIvRqZJBvKt3zJnztTwA/edit?ts=5d668bda
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา
คุณครูธีระวัฒน์ ปานทอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น