หลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการ
หลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการ
แบบฝึกหัดก่อนเรียน: https://docs.google.com/forms/d/1HlANwqJeYXbVhE45QA8rdg14GD_iE7Huf461n6Lgy9w/edit?ts=5d67ba2e
1. ซากดึกดำบรรพ์ (Fossil)
ถือเป็นหลักฐานสำคัญในการศึ กษาเรื่องวิวัฒนาการ
พบได้ในหินชั้นหรือหินตะกอน
ซากยิ่งอยู่ลึกยิ่งโบราณ
ซากชั้นบนๆ จะมีโครงสร้างที่ใกล้เคียงกับสิ่ งมีชีวิตในปัจจุบันมากกว่าชั้ นล่างๆ
นักชีววิทยาคำนวณอายุของซากดึ กดำบรรพ์ได้จากอายุของชั้นหิน
ปัญหาของซากดึกดำบรรพ์ คือ มักจะได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์

2. หลักฐานจากกายวิภาคเปรียบเทียบ
คือ การเปรียบเทียบโครงสร้างอวั ยวะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน จนทราบถึงความสัมพันธ์ทางวิวั ฒนาการของสิ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น
Analogous Structer คือ โครงสร้างที่มีองค์ประกอบต่างกั น แต่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน เช่น ปีกนกกับปีกแมลง
Homologous Structer คือ โครงสร้างที่มีองค์ประกอบเหมื อนกัน แต่หน้าที่ต่างกัน เช่นแขนคนกับขาแมว
3. หลักฐานจากคัพภวิทยาเปรียบเทียบ
หรือ การเปรียบเทียบการเจริญเติ บโตของเอ็มบริโอ คือ ทฤษฎีจากการดูหลักฐานการเจริ ญเติบโตของเอ็มบริโอ เรียกว่า ทฤษฎีการย้อนซ้ำลักษณะ (Theory of Recapitulation) ซึ่งกล่าวว่า การเจริญเติบโตของสัตว์ จากระยะตัวอ่อนจนถึงขั้นตัวเต็ มวัยจะเป็นการย้อนรอยหรือแสดงลั กษณะที่เหมือนกับการวิวั ฒนาการของบรรพบุรุษ
4. หลักฐานระดับโมเลกุล
เนื่องจากความต่างของวิวั ฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีความเกี่ ยวข้องกับลำดับของเบสดีเอ็นเอ และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีดีเอ็ นเอเป็นสารพันธุกรรมซึ่ง ใช้บ่งชี้ถึงความใกล้ชิดกั นทางวิวัฒนาการ ถ้ามีความใกล้ชิดกันก็จะมี ความเหมือนกันของดีเอ็นเออยู่ นอกจากนี้ยังอาจใช้โปรตีนที่เป็ นผลิตภัณฑ์จากรหัสของดีเอ็ นเอมาศึกษาเพื่อเปรียบเที ยบความต่างของยีนในสิ่งมีชีวิ ตได้เช่นกัน
5. หลักฐานทางชีวภูมิศาสตร์
สัตว์ที่อยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ จะมีความคล้ายคลึงกับสัตว์ที่ อยู่บนเกาะในละแวกใกล้เคียง ส่วนสัตว์ที่อยู่บนเกาะเดี่ยว หรือบริเวณที่ถูกแยกโดยสิ่งกี ดขวางทางภูมิศาสตร์จะมี ความแตกต่างกัน นั่นจึงทำให้เกิดการกระจายพันธุ์ พืชและสัตว์ออกไปได้หลากหลายสปี ชีส์ตามที่ต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่ งมีชีวิต
1. แนวคิดของฌอง-แบบติสต์ ลามาร์ก
นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เสนอไว้ 2 กฎ
1.1 กฎการใช้และไม่ใช้ อวัยวะที่มีการใช้ งานมากในการดำรงชีพจะแข็ งแรงและมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้ก็จะอ่ อนแอและเสื่อมไปได้รับการพิสูจน์แล้ว
1.2 กฎการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้ นใหม่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้ นจากกฎการใช้และไม่ใช้จะคงอยู่ ได้ และสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดลั กษณะใหม่นี้ไปสู่ลูกหลานได้ พิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากทฤษฎีของลามาร์กไปเน้ นว่าการถ่ายทอดนี้เกิดจากการฝึ กปรือ ซึ่งในความเป็นจริงการเปลี่ ยนแปลงจะเกิดขึ้นในเซลล์สืบพั นธุ์แล้วจึงจะสามารถถ่ายทอดไปยั งรุ่นลูกได้
2. แนวคิดของชาร์ลส์ ดาร์วิน
นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ได้เดินทางไปกับเรือ Beagle สำรวจอเมริกาใต้ และหมู่เกาะกาลาปากอส จนได้พบนกฟินซ์ที่มีขนาดและรู ปร่างของจะงอยปากต่างกั นตามอาหารที่กิน (ตามสภาพอาหารของเกาะนั้นๆ) เขาจึงเสนอ ทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติสิ่งมีชีวิตจะถูกคัดเลือกให้ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
ตัวที่มีลักษณะไม่เหมาะสมจะไม่ สามารถอยู่รอดได้
ทำให้เกิดการปรับตัวของสิ่งมีชี วิตจนเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่
พันธุศาสตร์ประชากร
ประชากร หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิ ดเดียวกันอาศัยอยู่ในบริเวณเดี ยวกันในช่วงเวลาหนึ่ง
ประชากรในเชิงวิวัฒนาการ หมายถึง สมาชิกในประชากรของสิ่งมีชีวิ ตสามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ และให้ลูกที่ไม่เป็นหมัน
Gene Pool หมายถึง ยีนทั้งหมดที่มีอยู่ ในประชากรในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยแอลลีล (Allele) ทุกแอลลีลจากทุกยีนของสมาชิก
พันธุศาสตร์ประชากร คือ การศึกษาเกี่ยวกั บการกระจายและการเปลี่ ยนแปลงของความถี่ของแอลลี ลในประชากร
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ ยนแปลงความถี่ของแอลลีล
1. การเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนแบบไม่ เจาะจง
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลี ลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเป็ นแบบสุ่มและไม่มีทิศทาง ทำให้ประชากรมีจำนวนสมาชิกน้ อยลงอย่างฉับพลันโดยเหตุบังเอิญ หรือภัยธรรมชาติ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ ของแอลลีลในยีนพูลเป็นอย่างมาก สามารถพบได้ 2 รูปแบบ คือ
ผลกระทบจากผู้ก่อตั้ง (Founder Effect)
การเปลี่ยนแปลงความถี่ของแอลลี ลที่เกิดขึ้นกับประชากรที่มี ขนาดเล็ก อันเป็นผลจากการอพยพ หรือแยกตั วออกมาจากประชากรขนาดใหญ่ เมื่อแยกแล้วสามารถแพร่พันธุ์ กลายเป็นประชากรกลุ่มใหม่อย่ างรวดเร็ว โดยประชากรกลุ่มใหม่จะมีความถี่ ของยีนแตกต่างจากประชากรดั้งเดิ มอย่างชัดเจน
ปรากฏการณ์คอขวด (Botteneck Effect)
เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกั บประชากรขนาดใหญ่ซึ่งมี ความหลากหลายทางพันธุกรรมมาก โดยจำนวนประชากรจะลดลงอย่ างรวดเร็ว เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ ออำนวย เช่น เกิดภัยธรรมชาติ หรือเกิดโรคระบาด
ประชากรที่อยู่รอดจากเหตุการณ์ ดังกล่าวจะมีขนาดเล็กลงทำให้ แอลลีลบางอย่างเพิ่มขึ้น, ลดลง หรือหายไปจากยีนพูลก่อให้เกิ ดความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ ลดลง
2. การถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีน
คือการแลกเปลี่ยนยีนระหว่ างประชากร โดยการผสมพันธุ์ข้ามประชากร เนื่องจากการอพยพระหว่างกลุ่ม ทำให้ประชากร 2 ประชากรมีความคล้ายคลึงกันมากขึ้ น และอาจกลายเป็นกลุ่มเดียวกันได้ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ประชากรใหม่จึงเกิ ดความหลากหลายเนื่องจากการรวมตั วกันของ 2 ประชากร
อพยพเข้า = นำยีนใหม่เข้ามาในกลุ่ม
อพยพออก = นำยีนเก่าออกไปนอกกลุ่ม
3. การเลือกคู่ผสมพันธุ์
สิ่งมีชีวิตส่วนมากมีการสืบพั นธุ์แบบอาศัยเพศ แบ่งออกได้ดังนี้
การผสมพันธุ์แบบสุ่ม
เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นส่ วนมาก การผสมพันธุ์แบบนี้มีผลต่ อการเปลี่ยนแปลงความถี่ยีนน้อย
การผสมพันธุ์ไม่เป็นแบบสุ่ม
มีการจับคู่ตามคุณสมบัติและลั กษณะทางฟีโนไทป์ ถ้าผสมพันธุ์ในสายพันธุ์เดียวกั นเรียกว่า Inbreeding จะมีผลทำให้ความถี่ของยีนหรื อความถี่ของจีโนไทป์เปลี่ ยนแปลงไป
4. การผ่าเหล่า
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้ นตามธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงของยีนที่ ทำให้ผิดไปจากเดิม โดยมากเป็นลักษณะที่ไม่ดีและไม่ เหมาะต่อสภาพแวดล้อมจนถู กธรรมชาติคัดทิ้งไป
การผ่าเหล่าสามารถเกิดได้ทั้ งเซลล์ร่างกายและเซลล์สืบพันธุ์ แต่การเกิดขึ้นที่เซลล์สืบพันธุ์ จะมีผลต่อการวิวัฒนาการอย่างมาก เพราะสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่ อๆไปได้
5. การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ประชากรในธรรมชาติมีความแตกต่ างแปรผันทางพันธุกรรมอย่างมาก การคัดเลือกโดยธรรมชาติจะส่ งผลให้ความถี่ยีนที่ควบคุมลั กษณะที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมถ่ ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ ส่วนลักษณะที่ไม่เหมาะสมก็จะสู ญสิ้นไปเองตามธรรมชาติ
แบบฝึกหัดหลังเรียน: https://docs.google.com/forms/d/1HlANwqJeYXbVhE45QA8rdg14GD_iE7Huf461n6Lgy9w/edit?ts=5d67ba2e
แบบฝึกหัดหลังเรียน: https://docs.google.com/forms/d/1HlANwqJeYXbVhE45QA8rdg14GD_iE7Huf461n6Lgy9w/edit?ts=5d67ba2e
ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา คุณครูธีระวัฒน์ ปานทอง
และแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซส์ BIOLOGY BY P.THANA
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น